Facebook ลบตัวเลือก “วิทยาศาสตร์เทียม” ป้องกันเผยแพร่ข้อมูลผิดช่วง COVID-19

Facebook ลบตัวเลือก “วิทยาศาสตร์เทียม” ป้องกันเผยแพร่ข้อมูลผิดช่วง COVID-19
Facebook ลบตัวเลือก “วิทยาศาสตร์เทียม”ออกจากเมนูที่ให้ผู้โฆษณาเลือกกลุ่มเป้าหมาย เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่เว็บไซต์ The Markup เปิดเผยว่าโซเชียลมีเดียชื่อดังปล่อยให้มีตัวเลือก “ผู้ที่สนใจวิทยาศาสตร์เทียม” อยู่ในแพลตฟอร์ม แม้จะให้คำมั่นสัญญาว่าจะควบคุ

Facebook ลบตัวเลือก “วิทยาศาสตร์เทียม” หรือ pseudoscience ออกจากเมนูที่ให้ผู้โฆษณาเลือกกลุ่มเป้าหมาย เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่เว็บไซต์ The Markup เปิดเผยว่าโซเชียลมีเดียชื่อดังปล่อยให้มีตัวเลือก “ผู้ที่สนใจวิทยาศาสตร์เทียม” อยู่ในแพลตฟอร์ม แม้จะให้คำมั่นสัญญาว่าจะควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค COVID-19

The Markup ระบุว่า มีผู้ใช้งาน Facebook กว่า 78 ล้านคน ที่สนใจในวิทยาศาสตร์เทียม และใช้ข้อมูลจากโฆษณาบน Facebook

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน ร็อบ ลีเธิร์น ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการผลิตภัณฑ์ของ Facebook ยืนยันว่าทางบริษัทได้ลบตัวเลือกดังกล่าวออกจากเมนูความสนใจแล้ว เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด ขณะเดียวกัน โฆษกของ Facebook ก็ระบุว่าจะมีการทบทวนเมนูความสนใจอีกครั้ง

นอกจากนี้ ทางบริษัท Facebook ยังได้ลบตัวเลือกความสนใจอื่นๆ ออกไปด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ผู้ที่สนใจทฤษฎีสมคบคิด”

ก่อนหน้านี้ Facebook ได้ประกาศเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับการระบาดของข่าวปลอมและข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งรวมถึงการลบเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิด “อันตรายต่อร่างกาย” และเตือนให้ผู้คนระมัดระวังการส่งต่อข้อมูลที่ผิด โดยการเพิ่มลิ้งก์เว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก นอกจากนี้ ยังมีการแบนเทคนิคในการโฆษณาที่เป็นอันตราย และแบนโฆษณาเกี่ยวกับหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ กระดาษเช็ดมือฆ่าเชื้อ และชุดตรวจ COVID-19

 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่รวบรวมโดย ProPublica เมื่อปี 2016 แสดงให้เห็นว่า Facebook ได้ระบุตัวเลือก “วิทยาศาสตร์เทียม” ให้ผู้ใช้เลือกมาตั้งแต่ช่วงเวลานั้น ซึ่งหมายความว่า ตัวเลือกดังกล่าวอยู่ในแพลตฟอร์มนี้เป็นเวลาหลายปี ก่อนที่จะถูกลบเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ผลการทดสอบของ Consumer Reports ในเดือนเมษายน ระบุว่า Facebook ได้อนุมัติโฆษณาที่มีเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ซึ่งรวมถึงคำกล่าวอ้างผิดๆ ที่ระบุว่าเชื้อไวรัสนั้นเป็นเรื่องหลอกลวง ในขณะที่ Avaaz รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ตัวอย่างเนื้อหาที่อาจสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา จำนวน 104 ชิ้น ถูกเข้าถึงโดยผู้ใช้งานกว่า 117 ล้านคน

 
2020-04-24 16:36:46
751

มวยดังในอดีต

มวยดังในอดีต ตำนานมวยไทย อดีตนักมวยชื่อดัง ตามหานักมวยชื่อดังในอดีต | ดีเด็ดมวยไทย

กีฬารอบโลก

กีฬารอบโลก นานากีฬา ข่าวเด็ดๆ คัดเน้นๆ เพื่อให้แฟน ทีเด็ดมวยไทย ได้ดูเน้นๆ กีฬาดังๆ ฮ็อตฮิตทั่วโลก

ดาวรุ่งภูธร

ดาวรุ่งภูธร มวยดาวรุ่ง มวยหน้าใหม่จากภูธร มวยบ้านนอก ดาวรุ่งดวงใหม่แห่งวงการมวยไทย | ทีเด็ดมวยไทย

ขวัญใจแฟนมวย

ขวัญใจแฟนมวย นักมวยขวัญใจแฟนมวย นักมวยหน้าหยก พระเอกมวยไทย | ทีเด็ดมวยไทย